วันนี้หม่ามี๊มีเกล็ดความรู้มาฝาก เพื่อนๆรู้ไหมว่า เงินตรา เริ่มมีการใช้ตั้งแต่ 2,600 ปีก่อน โดยเริ่มจากชาวลิเดียน ได้นำโลหะเงินผสมทองคำตามธรรมชาติที่ เรียกว่า อีเล็กตรัม มาประทับตราและใช้เป็นเงินตราครั้งแรก เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยมีการประทับตราของพระเจ้าแผ่นดินลงไปด้วยเพื่อรับรองน้ำหนักของก้อนโลหะแต่ละก้อนที่ใช้ชำระหนี้ทำให้เกิด "พิกัดราคา" ที่มีมาตรฐานขึ้น โดยก้อนโลหะที่ประทับตราและราคาแน่นอนนี้ เรียกว่า "เงินตรา" และ "เหรียญกษาปณ์" เงินตราในยุคแรกของโลกมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากมากนัก.
โดยเมื่อมนุษย์มีเทคโนโลยี ก็เริ่มใช้การพิมพ์ เงินหรือธนบัตร แบบที่เราใช้อยู่อย่างปัจจุบัน ซึ่งมีความปราณีตและละเอียดอ่อนเพื่อป้องกันต่อการเลียนแบบของมิจฉาชีพ แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตธนบัตรปลอมในหลายๆสกุลเงิน ซึ่งเกิดความเดือดร้อนในหลายๆประเทศ.
วันนี้เราเลยหยิบยกวิธีสังเกตุธนบัตรปลอมสกุล "บาท" เพราะเป็นสกุลเงินหลักที่เราใช้กันประจำ จะมีวิธีไหนบ้างในการตรวจสอบ ไปดูกันเลย โดยธนบัตรสกุลเงินต่างประเทศสกุลอื่นก็จะมีคุณลักษณะที่ป้องกันการปลอมแปลงเหมือนสกุลเงินบาทเหมือนกัน ซึ่งเราสามารถนำเทคนิคเดียวกันไปใช้ประยุกต์ได้เช่นเดียวกันเช่นสกุล USD, EUR, GBP, CHF, AUD, JPY, HKD, CNY, SGD, และสกุลเงินอื่นๆ
การสังเกตและตรวจสอบแบงค์ปลอม เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเป็นเหยื่อของธนบัตรปลอม
ข่าวที่แจ้งผ่านสื่อโซเชียลมีเดียว่ามีการแพร่ระบาดของธนบัตรปลอมได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปและพ่อค้าแม่ค้าจากร้านค้าหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มมิจฉาชีพข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย & www.prachachat.net ระบุว่า ธนบัตรเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงต้องเป็นสิ่งพิมพ์ที่ยากต่อการปลอมแปลง นอกจากนี้ยังเป็นสื่อกลางที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นชาติ และคุณค่าทางศิลปะไทยที่ประณีตงดงามธนบัตรจึงมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง แต่ต้องง่ายต่อการสังเกตและตรวจสอบ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการดังนี้ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง และเพื่อความมั่นใจควรตรวจสอบอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป Bank of Thailand and www.prachachat.net states that banknotes are legal tender and should be difficult to counterfeit. Additionally, banknotes serve as a medium reflecting national identity and the artistic value of Thai culture, making them uniquely intricate and challenging to counterfeit. However, they should be relatively easy to observe and verify using the following methods: touch, inspect, and tilt. To ensure confidence, it is recommended to check at least three points.
สัมผัส
1. ธนบัตร
ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป หรือเนื้อธนบัตรรุ่นใหม่ก็มักจะเริ่มเป็นเนื้อโพลีเมอร์แล้วเนื่องจาก คงทนและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเนื้อกระดาษใยฝ้าย
ธนบัตรแบบ |
|
2. ลายพิมพ์เส้นนูน
เกิดจากการพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ ภาพและลายเส้นที่ได้จึงมีรายละเอียดคมชัด ซึ่งใช้ในการพิมพ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า “รัฐบาลไทย” ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ จะรู้สึกสะดุด
ยกส่อง
ลายน้ำ
เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ
-
ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง
ช่องใส (ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท)
ช่องใสทรงหยดน้ำ มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน และมีตัวเลข “20” ขนาดเล็กดุนนูน
ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และตัวเลขใส “20” ที่อยู่ด้านล่าง มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน มีการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นเป็นสีเหลือบแดง และมีตัวเลข “20” สีทองอยู่ตรงกลางช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ภาพซ้อนทับ
เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพทั้งสองด้านได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์ สามารถสังเกตได้ด้วยการยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง
ธนบัตรแบบ 17
พลิกเอียง
6. ตัวเลขแฝง
ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
|
ธนบัตรแบบ 16 (ชนิดราคา 500 และ 1000 บาท ลายประดิษฐ์จะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียวด้วย) |
7. หมึกพิมพ์พิเศษ
ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ ภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสลับสี ส่วนชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นเป็นประกาย
|
|
ลวดลายจัดเรียงกันในแนวตั้ง เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเห็นเป็นสีเหลือบเหลือง
ธนบัตรแบบ 17 (ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท)
แถบสี
เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง และมีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะ จะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาขนาดเล็ก เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นอ่านได้ชัดเจน
-
-
-
แถบสีเทาตามแนวตั้ง ภายในแถบมีข้อความ “20 บาท 20 BAHT” ขนาดเล็ก สามารถอ่านได้ทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง
-
-
9. แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ
ผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในมีภาพที่เป็นมิติ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมาจะเห็นองค์ประกอบต่างๆ ในแถบฟอยล์เคลื่อนไหว และเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับสวยงาม
10. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง
พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง ลายประดิษฐ์บริเวณกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา หมวดเลขหมายจะเรืองแสง และเส้นใยที่ฝังในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง แดง และน้ำเงิน
|